เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515 พิมพ์จอบใหญ่ เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง เก่าเก็บ สภาพเดิมๆ
โดย สุสิชฌ์โชค โชติไชยฤกษ์ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 20 เม.ย. 2553.
ของดี ของแท้ สวยสมบูรณ์
ผ่านการสัมผัสมาบ้างในแบบบ้านๆ เพราะไม่ใช่พระที่มาจากตลาดพระทั่วไปครับ
จากคนเมืองพิจิตรแท้ๆ ที่มาดี
ไม่มีผิดกฏหมายและผ่านการการันตีออกบัตรรับรองตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อย
สำหรับเนื้อหารายละเอียดการสร้างอ่านชมเพื่อความรู้ได้ครับ...สนใจเคาะเลย
ครับ พระหลวงพ่อเงิน รุ่นปี ๒๕๑๕ มีจุดเด่นดีอยู่หลายประการ อาทิ
เจตนาการสร้างดี เนื้อหามวลสารดี รูปแบบสวยงาม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พิธีการดี ถูกต้องตามตำรับตำราโบราณทุกอย่าง
จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านโดยทั่วไปกล่าวสำหรับขั้นตอนการจัดสร้าง
มีความยุ่งยากพอสมควร โดยมีถึง ๔ ขั้นตอนด้วยกัน คือ ๑.ชนวนโลหะ
ถือว่าสุดยอด คือ แผ่นทองเหลืองแผ่นทองแดง
ที่พระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ ได้รวมพลังอธิษฐานจิต
ลงจารอักขระเลขยันต์ต่างๆ และปลุกเสกมาจากวัดของแต่ท่าน
เป็นอย่างดีมาก่อนนำมามอบให้คณะกรรมการผู้จัดสร้างหลังจากนั้นจึงได้นำมา
หล่อหลอมเป็นแผ่นโลหะ ก่อนนำมาเข้าพิธีในครั้งที่ ๒
๒.สถานที่ประกอบพิธีปลุกเสก มีความศักดิ์สิทธิ์
และการปลุกเสกก็สุดยอดเข้มขลัง โดยครั้งแรกเป็นการปลุกเสกแผ่นโลหะลงอักขระ
ซึ่งได้จากการหลอมแล้ว (จากแผ่นโลหะลงจารที่ได้จากขั้นตอนที่ ๑)
โดยพระเกจิอาจารย์ ๗๔ รูป
จากทั่วประเทศโดยทำพิธีที่วัดสุทัศนฯและได้มอบแผ่นโลหะเหล่านั้นให้โรงงาน
นำไปจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล พระหลวงพ่อเงินทั้งหมด ๓.พิธีปลุกเสก
เมื่อโรงงานได้สร้างวัตถุมงคลพระหลวงพ่อเงินชนิดต่างๆ (จากขั้นตอนที่ ๒)
ครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศนฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕
ธันวาคม ๒๕๑๔ โดยพระคณาจารย์ชื่อดังจากทั่วประเทศ ๑๒๗ รูป
ตามตำรับวัดสุทัศนฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
และโด่งดังในการสร้างพระเนื้อโลหะมาแต่โบราณกาล
รวมทั้งฤกษ์ผานาทีที่ได้กำเนิดขึ้นอย่างถูกต้อง ไม่มีผิดเพี้ยน
๔.ปลุกเสกที่วัดหลวงพ่อเงิน เมื่อเสร็จพิธีปลุกเสกจากวัดสุทัศนฯ แล้ว
ได้มีการนำพระหลวงพ่อเงินทั้งหมดกลับวัดบ้านเกิดของท่าน คือ วัดบางคลาน
เพื่อทำพิธีปลุกเสกครั้งสุดท้าย เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕
โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศ ร่วมบริกรรมปลุกเสก
ตามพิธีกรรมแบบโบราณตลอดทั้งคืน เริ่มตั้งแต่ ๔ โมงเย็น ไปจนถึง ๖ โมงเช้า
โดยได้แบ่งพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสกเป็นชุด ชุดละ ๑๖ รูป จำนวน ๖ ชุด รวม
๙๖ รูป โดยปลุกเสกชุดละ ๒ ชั่วโมง สลับกันไป อย่างไม่มีหยุดพัก
มีทั้งนั่งปรก บริกรรมภาวนา สวดพระคาถามหาทิพย์มนต์ พระคาถาพุทธาภิเษก
และพระคาถาภาณวาร เป็นต้น รุ่งเช้า วันจันทร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๑๕
เป็นการฉลองสมโภชเพื่อความเป็นสิริมงคล
อันเป็นการเสร็จพิธีอย่างครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด หลังจากนั้น
ถึงได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สั่งจองรับวัตถุมงคลพระหลวงพ่อเงินได้ทันที
รายการพระหลวงพ่อเงิน ที่จัดสร้างในปี ๒๕๑๕ ประกอบด้วย
๑.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา ๕ นิ้ว จำนวน สร้าง ๑,๐๐๐ องค์
๒.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา ๓ นิ้ว จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์
๓.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้ออัลปาก้า
จำนวนสร้าง ๕,๐๐๐ องค์ ๔.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน พิมพ์ลอยองค์ บรรจุกริ่ง
เนื้อทองเหลือง จำนวนสร้าง ๕,๐๐๐ องค์ (แบ่งพิมพ์ทรง ตามมาตรฐานทั้ง ๒
เนื้อ มีด้วยกัน ๓ พิมพ์ทรง คือ ๑.พิมพ์คอแอล (L) ๒.พิมพ์เลขแปด
๓.พิมพ์มือมีจุด) ๕.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบใหญ่ จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
๖.เหรียญปั๊ม พิมพ์จอบเล็ก จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ
(แบ่งพิมพ์ทรงตามมาตรฐาน มี ๒ พิมพ์ คือ ๑.พิมพ์แขนขาด ๒.พิมพ์แขนเต็ม)
๗.เหรียญขวัญถุง เนื้อกะไหล่ทอง จำนวนสร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ และ
เนื้อกะไหล่เงิน ๕,๐๐๐ เหรียญ นอกจากนี้ยังมี พระเนื้อดิน พิมพ์พระเจ้า ๕
พระองค์ และพิมพ์นางพญา จำนวนสร้างรวมทั้งหมดประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์
โดยแบ่งให้เช่าจำนวนหนึ่ง และบรรจุกรุในองค์เจดีย์อีกจำนวนหนึ่ง แหวน
สำหรับผู้ชายและผู้หญิง จำนวนสร้าง ๒,๐๐๐ วง และ เหรียญรูปไข่
ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเงิน
ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อเปรื่องและด้านหลังเป็นพระรูปเหมือนเสด็จในกรมหลวง
ชุมพรฯ จำนวนสร้างรวมกันประมาณ ๑๐,๐๐๐ เหรียญ ทุกวันนี้ พระหลวงพ่อเงิน ปี
๒๕๑๕ทุกพิมพ์ได้รับความศรัทธาสนใจจากนักสะสมพระสายนี้กันอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากพระหลวงพ่อเงินรุ่นเก่าที่ทันหลวงพ่อเงินปลุกเสกนั้นมีสนนราคาเช่า
หาองค์หนึ่งเป็นแสนเป็นล้านขึ้นไป สุดวิสัยที่ชาวบ้านทั่วๆ
ไปจะไขว่คว้าหามาสักการบูชาได้ผู้ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินจริงๆ
จึงหันมาเช่าหา พระหลวงพ่อเงิน ปี ๒๕๑๕ มาใช้ทดแทน นอกจากนี้
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ พระหลวงพ่อเงิน ปี ๒๕๑๕ มีผู้แสวงหากันมาก
คืออานุภาพความขลังความศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อเกิดประสบการณ์เป็นเลิศในทุก
ด้าน... สนใจสอบถามได้ครับ
![](image.php?f=img/577/845/577845006b6762be4957b5c584eff842_0.jpg&s=550) | |