TOYOTA HIACE COMMUTER

หน้าแรก » รถยนต์ และ ยานพาหนะ » รถตู้

TOYOTA HIACE COMMUTER




การใช้เกียร์ออโต้ ที่ถูกต้อง
ปัจจุบันรถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโตเมติกเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากขับขี่สบายไม่ต้องเมื่อยเปลี่ยนเกียร์และเหยียบคลัตช์ (Clutch) ตลอดเวลายามรถติด แต่อาจมีบางท่านเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้เกียร์ออโต ส่งผลให้ทอนอรยุการใช้งานของรถโดยไม่รู้ตัว...

การเปลี่ยนเกียร์จาก D ไป N ในเวลาที่รถติดไฟแดงบ่อยๆ นั้นหลายคนคงเคยปฏิบัติกันอยู่ เนื่องจากเวลารถติดขี้เกียจเหยียบเบรกก็เข้าเกียร์ N ไว้ เมื่อรถเคลื่อนก็เปลี่ยนเป็น D ถ้าช่วงรถติดแล้วขยับเคลื่อนทีละนิดทีละหน่อย ทำให้ต้องเปลี่ยน D-N-D-N-D-N อยู่อย่างนี้เท่ากับคุณกำลังทำร้ายระบบเกียร์ของคุณอยู่

ระบบเกียร์ออโตเมติกนั้นจะประกอบด้วยชุดเกียร์ที่ขบกันตลอดเวลา การส่งแรงจาก N ไป Dจะต้องมีการสึกหรอของเฟืองนั้นต้องมีการปล่อยและจับอยู่ตลอดเวลา อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เพราะถ้าเบรกอยู่เฉยๆ ระบบเบรกก็ไม่ได้ร้อนขึ้นเพราะว่าจานดิสเบรกหรือดุมเบรกไม่ได้หมุน ผ้าเบรกก็ไม่สึกหรอเพราะว่าล้อไม่หมุน แรงที่ใช้ในการเหยียบก็ไม่มากขนาดจะทำให้ชุมแม่ปั๊มเบรกพังหรือทำให้อายุการ ใช้งานน้อยลง

หลายคนที่เปลี่ยนเกียร์ D-N-D-N-D-N อ่านถึงบรรทัดนี้แล้วก็อยากจะเถียงว่าไม่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงเลย รถยังคงสามารถขับได้ตามปกติ ระบบเกียร์ก็ยังปกติดอยู่ แต่พฤติกรรมอย่างนี้จะส่งผลแก่รถคุณในระยะยาว เปรียบเหมือนกับการสูบบุหรี่นั่นแหละ ระบบคลัตช์ของคุณจะลื่น ทำให้เวลาออกตัวคุณจะต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้รอบสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลยสูงขึ้น น้ำมันก็เปลืองขึ้น แต่รถกลับไม่ได้วิ่งอย่างนั้นเลย

การใช้เกียร์ออโตเมติค

ปัจจุบันรถยนต์เกียร์ออโตเมติคได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะการขับขี่ในเมืองที่มีการจราจรติดขัด เนื่องจากขับขี่ได้ง่ายสะดวกสบายเพราะใช้เพียงคันเร่งและเบรกเท่านั้น คันเกียร์ของเกียร์ออโตเมติคจะมีตำแหน่งสำหรับใช้งานต่าง ๆ กันดังนี้
ตำแหน่ง P
ใช้สำหรับจอดอยู่กับที่หรือบนพื้นที่ลาดเอียง โดยรถจะถูกล็อกให้หยุดอยู่กับที่ด้วยตัวล็อกภายในเกียร์
ตำแหน่ง R
ใช้สำหรับการถอยหลัง
ตำแหน่ง N
ใช้สำหรับการหยุดรออยู่กับที่บนพื้นราบ ซึ่งในตำแหน่งนี้รถสามารถเข็นให้เคลื่อนที่ได้
ตำแหน่ง D
ใช้สำหรับการขับขี่แบบอัตโนมัติโดยเกียร์จะเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติตามคัน เร่งและความเร็วของรถ ใช้ขับขี่ได้ตั้งแต่การเริ่มออกตัวและเพิ่มความเร็วได้ไปเรื่อย ๆ จนถึงความเร็วสูงสุด การขับขี่โดยทั่วไปสามารถใช้เกียร์นี้เพียงเกียร์เดียวเท่านั้นก็ได้

หมายเหตุ สำหรับรถที่มีสวิตซ์โอเวอร์ไดร์ว ซึ่งเป็นอุปกรณ์พิเศษในเกียร์ออโต 4 สปีดบางรุ่น

เมื่อสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง ON เกียร์ออโตจะสามารถทำงานได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติ

สวิตซ์โอเวอร์ไดร์วอยู่ที่ตำแหน่ง OFF เกียร์ออโตจะทำงานโดยอัตโนมัติได้ตั้งแต่เกียร์ 1 ถึงแค่เกียร์ 3 เท่านั้น

ฉะนั้นการปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง ON ไปเป็น OFF จึงเป็นการลดเกียร์จากเกียร์ 4 มาเป็นเกียร์ 3 เพื่อให้เหมาะกับการเร่งแซงขณะความเร็วสูง และเมื่อปรับสวิตซ์โอเวอร์ไดร์วจากตำแหน่ง OFF ไปเป็น ON จะทำให้เกียร์ 3 กลับไปเป็นเกียร์ 4 อย่างเดิม ทำให้การลดเกียร์เพื่อเร่งแซง หรือเข้าโค้งเป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น

ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร

ตำแหน่ง L
ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ
หมายเหตุ การสตาร์ทเครื่องยนต์ถูกออกแบบให้สามารถกระทำได้เฉพาะ ตำแหน่ง P กับ N เท่านั้น เพื่อความปลอดภัย
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก............กระทรวงคมนาคม
สาระควรรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
ที่ความเร็ว 20 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 7 เมตร
ที่ความเร็ว 40 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 18 เมตร
ที่ความเร็ว 60 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 34 เมตร
ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 54 เมตร
ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกที่ต้องใช้อย่างน้อยที่สุด คือ 80 เมตร
หลายคนมักเข้าใจว่า เกียร์ออโตเมติกสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะในความเร็วและอัตราเร่งขณะแซง หากคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เกียร์ออโตเมติก ผมเชื่อว่าคุณจะขับรถเกียร์ออโตเมติกได้อย่างสบาย และเพลิดเพลินด้วยความปลอดภัยไม่แพ้รถเกียร์ธรรมดาเลยครับ

ตามปกติเวลาขับรถเกียร์ออโตเมติก ผู้ขับขี่ส่วนมากใช้เกียร์อยู่เพียง 4 ตำแหน่ง นั่นคือ
"D4" เมื่อต้องการขับรถไปข้างหน้า
"R" เมื่อต้องการถอยหลัง
"N" หรือ "P" เมื่อต้องการจอด หรือสตาร์ตรถ
อันที่จริงแล้วคุณควรใช้เกียร์ตำแหน่งอื่น เพื่อเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เช่นกัน

สัปดาห์นี้ผมขอกล่าวถึง เทคนิคการขับรถเกียร์ออโตเมติกเมื่อลงทางลาดชัน และการคิก ดาวน์ (Kick Down) เมื่อต้องการเร่งแซงครับ สำหรับการขับรถลงทางลาดชัน ผมขอแนะนำให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D3" กรณีที่ทางลงนั้นมีระยะเวลายาวแต่ไม่ชันมากนัก แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมาก ๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "2" เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันคุณควรเหยียบเบรกไปด้วย หรืออาจใช้เบรกมือ เพื่อช่วยในการหยุดรถที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าใช้เกียร์ "N" หรือ "D4" ในการขับรถลงทางชัน เพราะจะไม่มีกำลังเครื่องยนต์ช่วยเบรกและช่วยชะลอความเร็ว นับเป็นการขับที่ผิดวิธีและเป็นอันตรายอย่างมาก

กรณีที่ต้องการเร่งแซงรถคันอื่น หรือต้องการแรงเพิ่มขับเคลื่อนรถอย่างกะทันหัน คุณสามารถเพิ่มความเร็วของรถด้วยการคิก ดาวน์ (Kick Down) โดยเหยียบคันเร่งลงไปเกินกว่า 80เปอร์เซ็น ในครั้งเดียวเกียร์จะเปลี่ยนลงอย่างรวดเร็ว สังเกตได้จากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ในขณะที่รถจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น

การคิก ดาวน์ (Kick Down) มี 2 ลักษณะคือ

1. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 1 ตำแหน่ง เช่น รถที่ขับ ความเร็วประมาณ 120 กม./ชม.
(อัตราทดเกียร์ 4) แล้วเหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 3 สังเกตจากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
2. คิก ดาวน์ (Kick Down) ลงมา 2 ตำแหน่ง เช่น ขับรถที่ ความเร็วประมาณ 70 กม./ชม.
(อัตราทดเกียร์ 4) แล้วเหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ลงเกียร์ 2 ทันที เพื่อให้อัตราทดเกียร์เหมาะสมกับความเร็วขณะขับขี่ ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งมากขึ้น สังเกตจากรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมากกว่าการคิก ดาวน์ (Kick Down) 1 ตำแหน่ง

10 หนทางให้คุณวางใจ...เกียร์ออโตเมติก

เกียร์อัตโนมัติ "เกียร์ออโต้" ดูจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งพวกเรามักจะมองหา... หรือเอามือไปคว้าไว้หลังพอๆกับพวงมาลัยรถก็ว่าได้ และแน่นอน เราจะมองหามันก่อนที่จะบิดสวิตช์กุญแจเสียอีก...

ยุคนี้เราจะชินกับ Automatic Transmission ซะยิ่งกว่า "เกียร์ธรรมดา" Manual Transmission ไปเสียแล้วละครับ ยิ่งจำพวกเกียร์ออโตเมติกแบบใหม่ๆ Lock-UP Torque Converter ที่มี CPU 8 BIT- 16 BIT เข้าไปช่วย Calculation การเปลี่ยนเกียร์ด้วยแล้วละก็ อู้ฮู ก็ยิ่งสะดวกไปกันใหญ่

ล่าสุด CVT หรือ Constantly Variable Transmission ยุคปี 2000 เป็นต้นมา ด้วยแล้วละก็ ยิ่งนุ่มนวลแม่นยำ และแสนจะง่ายดายในการทำงาน แถมยังไม่ยุ่งยากอย่างเกียร์ออโต้สมัยคุณลุง คุณน้า คุณอาซะด้วยละครับ

คอลัมน์ DIY คุณก็ทำได้.. มีจุดประสงค์ใหญ่ที่สำคัญคือ การนำเอาเรื่องราวบางเรื่องที่คุณอาจไม่เข้าใจ หรือไม่สนที่จะต้องเข้าใจ มาเล่าแจ้งแถลงไขให้เป็นเรื่องคุยกันสนุกๆ ตามประสาผู้ใช้มากกว่าจะให้ต้องลงมือซ่อมเอง (นั่นเป็นเรื่องของช่างเขา) เพื่อเป็นพื้นฐานสู่ความเข้าใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราเจ้าของรถไม่ควรมองข้าม และน่าทำความเข้าใจ อย่างน้อยก็เอาไว้คุยกับช่างให้รู้เรื่อง (เขาจะได้หลอก "กินเปล่า" เราไม่ได้) เพราะพอเขาชี้แจงเรื่องอะไรๆ ที่เป็นปัญหา เราเจ้าของรถก็เข้าใจและลำดับขั้นตอนการซ่อมแซมได้ เวลาจ่ายค่าซ่อมก็สะดวก อย่างน้อยเราก็ช่วยช่างได้อีกวิธีหนึ่งละครับ

"DIY คุณก็ทำได้" ในฉบับที่แล้ว ผมได้พาทุกท่านล้วงลึกลงไปในห้องเกียร์ออโตเมติก โดยนำเอา VB (Valve Body) หรือ "สมองเกียร์" ออกมาให้ชมกันจะจะ พร้อมทั้งเพื่อนร่วมงาน อาทิ Torque Converter ชุด Vacuum Control วาล์ว Orifice ไปจนถึงคู่มือประจำรถ กำหนดให้ใช้น้ำมันเกียร์ หรือ ATF (Automatic Transmission Fluid) เกรดใด นัมเบอร์ไหน ซึ่งก็ควรใช้ตามนั้น สำคัญคือเปลี่ยนถ่ายก่อนกำหนดตามคู่มือสักหน่อย อย่างน้อยควรเปลี่ยนปีละ 2 หน คือต้นปีกับกลางปีก็จะดีไม่น้อยครับ ว่ากันว่า เกียร์ออโตเมติก หากเราดูแลรักษามันดีๆ จะมีอายุการใช้งานที่ทนทานถึง 20 ปี หรือไม่น้อยกว่า 10 ปี อย่างแน่นอนครับ และเพื่อยืนยันถึงอายุยืนนานของมัน ใน "DIY คุณก็ทำได้" ฉบับนี้ เราจึงควรมาคุยกันถึงหนทางที่เราผู้เป็นเจ้าของจะหาวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง แท้จริง เพื่อความทนทานด้านการใช้งานของมันให้สมกับที่วิศวกรผู้ผลิตเกียร์ออโต้เขา ได้ตั้งใจหวังไว้เถิดครับ

หนทางที่จะนำเราไปสู่อายุขัยยืนนานของการใช้เกียร์ออโตเมติกง่ายๆ ให้มีไว้สัก 10 เถอะนะครับ จำง่ายดี เริ่มกันที่

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ เรา ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งาน เดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวัน นานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง

ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยากครับ อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลยนะ

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อย

ควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็น


 


ยี่ห้อ: TOYOTAรุ่น: HIACE COMMUTER
สภาพ: ใหม่ความสมบูรณ์: 100%
ราคา: 1,480,000ต้องการ: ขาย (ร้านค้า บริษัท)
เลขบัตรประชาชน: 310010099XXXIP Address: 58.10.84.206
ติดต่อ: จิรภัทรอีเมล์: 
โทรศัพย์: 02-616-0750มือถือ: 087-807-4331
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
ที่อยู่: 44/1อาค่รรุ่งโรจน์ธนกุล รัชดาภิเษก

คำค้น:  ภาพสมองเกียร์ตู้โฟล์ค | hiace commuter | toyota | รถตู้โตโยต้า | รถตู้โตโยต้าเกียร์ออโต้ | รถเกียร์ออโต้ | คู่มือรถยนต์รุ่นใดก็ได้ | รถตู้เกียร์ออโต้ | สมองเกียร์bmw | รถตู้โตโยต้าออโต้ |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]